เป็นกฎหมายเพื่อแรงงานโดยเฉพาะ ซึ่งก็หมายรวมถึงทั้งลูกจ้าง พนักงานต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบของบริษัทนั้น ๆ หากเกิดอะไรขึ้นแรงงานก็จะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายแรงงานนี้ด้วย และเงื่อนไขการลาและหลาย ๆ อย่างที่แรงงานทำได้มีแค่ไหนก็มีระบุไว้ชัดเจนแล้ว แต่หากถูกไล่ออกในความผิดร้ายแรงกฎหมายก็ไม่ช่วยอะไรคุณเหมือนกันนะ เพราะทุกอย่างมันย่อมมีข้อยกเว้นเสมอ
กฎหมายแรงงานนั้นเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างเพื่อให้การจ้างงานและการใช้งาน การประกอบกิจการและความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นไปด้วยดี ได้รับประโยชน์ที่เหมาะสม หรือเรียกว่าเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน) ซึ่งจะไม่ได้ประโยชน์แค่ลูกจ้างเท่านั้นกับนายจ้างก็ต้องได้เหมือนกัน
เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งมีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการจ้างการใช้แรงงาน การจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน เพื่อให้ผู้ทำงานมีสุขภาพอนามัยที่ดีและปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย พร้อมทั้งได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม
กฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกันนี้จะเป็น พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน, พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์, พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่ง พ.ร.บ. แต่ละอย่างนั้นก็จะมีเงื่อนไขระบุเอาไว้ชัดเจนว่าคุ้มครองอะไรบ้างเกี่ยวกับแรงงาน คนที่ทำงานอยู่ในระบบบริษัทจะต้องทำความเข้าใจถึงสิทธิ์และหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดด้วย จะได้ไม่กระทำผิดกฎเสียเอง
สรุปกฎหมายแรงงานกับการจัดการวันลาของพนักงาน
พนักงานหรือแรงงานทุกคนมีสิทธิในการลางาน แต่ว่าจะต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดตามเงื่อนไขของบริษัทและภายใต้กฎหมายแรงงานด้วย เราจะลาหยุดไปเองแบบสุ่มสี่สุ่มห้านั้นไม่ได้ โดนเตือนและถูกเชิญออกได้เร็วแน่นอนหากทำแบบนั้น
วันลา คือ วันที่ลูกจ้างนั้นใช้สิทธิในการลาหยุดงานได้อันเนื่องจากเหตุต่าง ๆ โดยต้องได้รับการอนุญาตจากนายจ้าง ไม่ว่าจะลาอะไรก็ตาม ก็มีทั้ง ลาป่าย ลากิจ ลาไปพัฒนาตัวเอง ลาคลอด ฯลฯ มาดูกันว่าสิทธิในการลาในแต่ละอย่างตามกฎหมายแล้วเป็นแบบไหน จะได้ทำตามกฎได้อย่างถูกต้อง
1. การลาป่วย
สำหรับการลาป่วยตามมาตรา 32 นั้นลูกจ้างมีสิทธิลาได้เท่าที่ป่วยจริง ๆ หากป่วยและลาตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ที่เป็นวันทำงานจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์ หากในกรณีที่แสดงไม่ได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาป่วยเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี
ตามมาตรา 57 นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 นี้จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท ตามมาตรา 146 ฉะนั้นแล้วในการลาป่วยก็ต้องทำให้ถูกกฎหมายแรงงานด้วย บางกรณีเราก็ยังได้รับค่าจ้างอยู่เหมือนเดิม
2. การลาไปทำหมัน
เป็นสิทธิที่ลูกจ้างสามารถลาได้เพื่อการทำหมัน ระยะเวลาขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและการออกใบรับรองแพทย์ ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนในวันลาเพื่อทำหมันเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ตามใบรับรองแพทย์ (มาตรา 57) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 57 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)
3. การลากิจ (ธุระอันจำเป็น)
การลาแบบนี้เอาไว้ใช้ในการกรณีที่มีเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนจำเป็นจะต้องลา พนักงานก็สามารถใช้สิทธิในการลากิจได้เพื่อไปทำธุระจำเป็น ซึ่งการลากิจไปทำอะไรนั้นก็จะต้องเป็นธุระที่คนอื่นไม่สามารถจะทำแทนได้
และต้องเป็นการลาภายใต้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานและตามกฎหมายแรงงาน ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันเพื่อกิจธุระอันจำเป็น เท่ากับในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 3 วัน/ปี หากนายจ้างไม่จ่าย อาจจำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ลาเพื่อรับราชการทหาร
หลายบริษัทเลยมักจะรับพนักงานที่ผ่านการเกณฑ์ทหารมาแล้วเพื่อเลี่ยงการที่พนักงานจะใช้วันลาข้อนี้นั่นเอง ตามมาตรา 35 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อรับราชการทหารเพื่อฝึกวิชาชีพทหารได้ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อรับราชการทหารเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วัน/ปี (มาตรา 58) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 58 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)
5. การลาเพื่อไปพัฒนาความรู้
ตามมาตรา 36 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาเพื่อฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ ความสามารถได้ไม่เกิน 30 วันหรือ 3 ครั้ง/ปี ซึ่งลูกจ้างจะต้องมีหลักสูตรและกำหนดวันเวลาที่แน่นอนชัดเจน ลูกจ้างต้องแจ้งต่อนายจ้างไม่น้อยกว่า 7 วันให้ถือเป็นการลาโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งก็ต้องดูเป็นกรณีไป
6. การลาเพื่อคลอดบุตร
ตามมาตรา 41 ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตรไม่เกิน 98 วัน/ปี ยื่นคำขอเพื่อลาคลอดล่วงหน้าพร้อมใบรับรองแพทย์ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา ไม่เกิน 45 วัน (มาตรา 59) นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 59 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท (มาตรา 146)
ตามกฎหมายแรงงานแล้วการลาทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นพนักงานก็มีสิทธิในการใช้วันลาตามเหตุสมควร หากบริษัทไหนไม่ให้ลาก็จะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากการมีสิทธิลาแล้วในกรณีอย่างอื่นกฎหมายคุ้มครองแรงงานก็ช่วยได้อย่างกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน จ่ายแต่ไม่ครบ หรือกรณีที่พนักงานเองทำผิดก็มีบทลงโทษอย่างสมควรเช่นกัน
นายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน
หากนายจ้างไม่ยอมจ่ายเงินในกรณีที่เลิกสัญญาหรือเลิกจ้าง ไม่คืนเงินหลักประกัน หรือเลิกจ้างโดยไม่บวกล่วงหน้า ไม่มีค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน หรือเงินส่วนต่าง ๆ ที่จะต้องจ่าย แต่ไม่จ่ายนั้นจะต้องชดเชยพิเศษให้พนักงาน รวมไปถึงกรณีที่นายจ้างหยุดกิจการด้วย นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดด้วยร้อยละ 15 ต่อปี ตามกฎหมายแรงงานกำหนด
หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนนอกจากจะเสียดอกเบี้ยแล้ว ยังต้องเพิ่มอัตราค่าชดเชยเลิกจ้าง หากลูกจ้างทำงานมากกว่า 20 วันขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน หากกฎหมายไม่บังคับตรงจุดนี้บริษัทก็จะเทลูกจ้างทิ้งกลางทางเมื่อไหร่ก็ได้ สมัยนี้ขนาดมีกฎหมายหลาย ๆ ที่ยังกล้าที่จะเทพนักงานได้เลย
โดนเลิกจ้างจะได้รับค่าจ้างหรือไม่ ?
ซึ่งก็ต้องดูเป็นกรณีไปว่าสาเหตุที่โดนเลิกจ้างนั้นเป็นเพราะตัวพนักงานที่ทำผิดกฎเองหรือทางนายจ้างเลิกจ้าง หากเป็นเพราะนายจ้างเลิกสัญญาโดยไม่บอกล่วงหน้าให้ทราบ นายจ้างจะต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างที่ควรจะได้รับ นับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่เลิกสัญญาจ้างมีผลโดยให้จ่ายในวันที่ให้ลูกจ้างออกจากงาน แน่นอนว่ากฎหมายแรงงานกำหนดเอาไว้แบบนี้
หากเป็นการเลิกจ้างแบบแจ้งให้ทราบก่อนนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาวันหยุดและเงินที่นายจ้างต้องจ่ายตามที่ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับภายในเวลา 3 วัน โดยนับตั้งแต่วันที่เลิกจ้าง แต่ถ้าหากบริษัทจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วครายที่ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย นายจ้างต้องจ่ายเงินแก่พนักงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงาน
เพิ่มอัตราชดเชยค่าเลิกจ้างเพิ่มขึ้นอีก 1 อัตรา เกณฑ์การจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้างมีดังนี้
อัตราที่ 1 ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
อัตราที่ 2 ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
อัตราที่ 3 ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ค่าชดเชย 180 วัน
อัตราที่ 4 ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้ค่าชดเชย 240 วัน
อัตราที่ 5 ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
อัตราที่ 6 ทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน
การให้สิทธิเท่าเทียมกัน
พอกฎหมายแรงงานมีการปรับแก้ฉบับใหม่แล้วก็จะเข้ากับสมัยปัจจุบันมากยิ่งขึ้น ในการทำงานนั้นให้นายจ้างกำหนดค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงาน ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานคุณภาพ ลักษณะเหมือนกัน ปริมาณเท่ากัน งานเท่าเทียมกันในอัตราเท่ากันไม่ว่าลูกจ้างจะเป็นเพศไหนก็ตาม
พอดูผ่าน ๆ เอกสารใบลดหนี้มันก็เหมือนกับเอกสารใบกำกับภาษีฉบับเต็มเลย ซึ่งในบางกรณีที่สามารถเป็นใบกำกับภาษีได้เหมือนกัน สำหรับใครที่ต้องมีการออกเอกสารลดหนี้ให้ลูกค้าก็อย่าลืมที่จะใส่ใจในรายละเอียดให้ครบทุกข้อที่กล่าวมาข้างต้นจะได้ไม่ผิดพลาดหรือมีปัญหาอะไรตามมาภายหลัง
การย้ายสถานประกอบการไปแหล่งใหม่
อยู่ ๆ บริษัทจะย้ายไปตั้งที่ใหม่ไม่ได้เพราะว่าจะส่งผลกระทบต่อชีวิตพนักงานอย่างมาก บางคนเดินทางลำบากและยังสิ้นเปลืองมากกว่าเดิมอีก หากบริษัทต้องย้ายไปตั้งที่ใหม่จะต้องมีการปิดประกาศจ้างให้ทราบล่วงหน้า 30 วันเป็นอย่างต่ำและปิดในที่โล่งเพื่อให้พนักงานทุกคนได้เห็นชัดเจน รวมถึงข้อความในประกาศก็ต้องชัดเจนด้วยว่าใครบ้างจะต้องโดนย้ายตามบริษัทไป
หากนายจ้างไม่ปิดประกาศแล้วสั่งย้ายเลยนั้นจะต้องมีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษให้แทนการบอกล่วงหน้าแก่ลูกจ้างที่ไม่ประสงค์จะไปทำงานที่แห่งใหม่ และการย้ายไปตั้งบริษัทที่ใหม่นั้นกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างหรือครอบครัวลูกจ้างและไม่ประสงค์จะไปทำงานตามที่ใหม่ ก็จะต้องแจ้งให้นายจ้างทรายเป็นหนังสือภายใน 30 วันด้วยเช่นกัน โดยให้นับแต่วันที่มีการปิดประกาศ